Translate

วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557

นางยักษิณีเริ่มตั้งสลากภัต


พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  คาถาธรรมบท  เล่ม ๑  ภาค  ๒  ตอน  ๑- หน้า 76


ครั้งนั้น  พวกชนที่เหลือเหล่านั้น  ่ข้าวกล้าที่หล่อนทำแล้ว  ย่อมไม่เสียหายด้วยน้ำมากเกินไป  ย่อมไม่เสียหายด้วยน้ำน้อยไป  หล่อนรู้ความที่ฝนดีและฝนแล้ง  แล้วจึงทำการงานหรือ ?  ข้อนี้เป็นอยางไรหนอแล ?"  นางบอกว่า  "นางยักษิณี  ผู้เป็นหญิงสหายของฉัน  บอกความที่ฝนดีและฝนแล้งแก่ฉัน  ฉันทำข้าวกล้าทั้งหลายในที่ดอนและที่ลุ่ม  ตามคำของยักษิณีนั้น  เหตุนั้น  ข้าวกล้าของฉันจึงสมบูรณ์ดี  พวกท่านไม่เห็นโภชนะมีข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้น  ที่ฉันนำไปจากเรือนเนืองนิตย์หรือ ?  สิ่งของเหล่านั้น  ฉันนำไปให้นางยักษิณีนั้น  แม้พวกท่านก็จงนำโภชนะมีข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้นอย่างดี  ไปให้นางยักษิณีบ้างซิ  นางยักษิณีก็จักแลดูการงานของพวกท่านบ้าง"

ครั้งนั้น  พวกชนชาวเมืองทั้งสิ้น พากันทำสักการะแก่นางยักษิณีนั้นแล้ว  จำเดิมแต่นั้นมา  นางยักษิณีแม้นั้น  แลดูการงานทั้งหลายของชนทั้งปวงอยู่  ได้เป็นผู้ถึงลาภอันเลิศ มีบริวารมากแล้ว

ในการต่อมา  นางยักษิณีนั้นเริ่มตั้งสลากภัต  ๘  ที่แล้ว  สลากภัตนั้น  ชนทั้งหลายยังถวายอยู่จนกาลทุกวันนี้แล


จบเรื่องความเกิดขึ้นของนางยักษิณี.

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นางยักษิณีรู้ฝนมากฝนน้อย


พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  คาถาธรรมบท  เล่ม ๑  ภาค ๒  ตอน  ๑- หน้าที่ ๗๕

พระศาสดา  ได้ตรัสกะหญิงนั้นว่า  "เจ้าจงให้บุตรของเจ้าแก่นางยักษิณีเถิด"

ญ.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์กลัว

ศ.  เจ้าอย่ากลัวเลย  อันตรายย่อมไม่มีแก่เจ้า  เพราะอาศัยนางยักษิณีนี้

นางได้ให้บุตรแก่นางยักษิณีนั้นแล้ว  นางยักษิณีนั้นอุ้มทารกนั้น  จูบกอดแล้ว  คืนให้แม่มารดาอีก  ก็เริ่มร้องไห้

ลำดับนั้น  พระศาสดา  ตรัสถามนางยักษิณีนั้นว่า  "อะไรนั่น ?"

นางยักษิณีนั้นกราบทูลว่า  "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อก่อนข้าพระองค์  แม้สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยไม่เลือกทาง  ยังไม่ได้อาหารพอเต็มทอง  บัดนี้  ข้าพระองค์จะเลี้ยงชีพได้อย่างไร"

ลำดับนั้น  พระศาสดา  ตรัสปลอบนางยักษิณีนั้นว่า  "เจ้าอย่าวิตกเลย"  ดังนี้แล้ว  ตรัสกะหญิงนั้นว่า  "เจ้าจงนำนางยักษิณีไปให้อยู่ในเรือนของตนแล้ว  จงปฏิบัติด้วยข้าวต้มและข้าวสวยอย่างดี"  หญิงนั้นนำนางยักษิณีไปแล้ว  ให้พักอยู่ในโรงกระเดื่อง  ได้ปฏิบัติด้วยข้าวต้มและข้าวสวยอย่างดีแล้ว  ในเวลาซ้อมข้าวเปลือก  สากปรากฏแก่นางยักษิณีนั้นดุจต่อยศีรษะ  เขาจึงเรียกนางกุลธิดาผู้สหายมา  แล้วพูดว่า  "ฉันจักไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้  ขอท่านจงให้ฉันพักอยู่ในที่อื่นเถิด"  แม้อันหญิงสหายนั้นให้พักอยู้ในที่เหล่านี้  คือในโรงสาก  ข้างตุ่มน้ำริมเตาไฟ  ริมชายคา  ริมกลงหยากเยื่อ  ริมประตูบ้าน  นางก็กล่าวว่า  "ในโรงสากนี้  สากย่อมปรากฏดุจต่อยศีรษะฉันอยู่  ที่ข้างตุ่มน้ำนี้  พวกเด็กย่อมราดน้ำเป็นเดนลงไป  ที่ริมเตาไฟนี้  ฝูงสนุขย่อมมานอน  ที่ริมชายคานี้  พวกเด็กย่อมทำสกปรก  ที่ริมกองหยากเยื่อนี้  ชนทั้งหลายย่อมเทหยากเยื่อ  ที่ริมประตูบ้านนี้  เด็กพวกชาวบ้าน  ย่อมเล่นการพนันกันด้วยคะแนน"  ดังนี้แล้ว  ได้ห้ามที่ทั้งปวงนั้นเสีย

ครั้งนั้น  หญิงสหายจึงให้นางยักษิณีนั้นพักอยู่ในที่อันสงัดภายนอกบ้าน  แล้วนำโภชนะมีข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้นอย่างดี  ไปเพื่อให้นางยักษิณีนั้น  แล้วปฏิบัติในที่นั้น  นางยักษิณีนั้น  คิดอย่างนี้ว่า  "เดี๋ยวนี้หญิงสหายของเรานี้  มีอุปการะแก่เรามาก  เอาเถอะเราจักทำความแทนคุณสักอย่างหนึ่ง"  ดังนั้นแล้ว ได้บอกแก่นางสหายว่า  "ในปีนี้จักมีฝนดี  ท่านจงทำข้าวกล้าในที่ดอนเถิด  ในปีนี้ฝนจักแล้ง  ท่านจงทำข้าวกล้าในที่ลุ่มเถิด  ข้าวกล้าอันพวกชนที่เหลือทำแล้ว  ย่อมเสียหายด้วยน้ำมากเกิดไปบ้าง  ด้วยน้ำน้อยบ้าง  ส่วนข้าวกล้าของนางกุลธิดานั้นย่อมสมบูรณ์เหลือเกิน


...............................

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เวรไม่ระงับด้วยเวร แต่ระงับได้ด้วยไม่ผูกเวร

พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  คาถาธรรมบทเล่ม ๑  ภาค  ๒  ตอน  ๑   หน้าที่ ๗๓

ในสมัยนั้น  พระศาสดา  ทรงแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัท  นางกุลธิดานั้น  ให้บุตรนอนลงเคียงหลังพระบาทแห่งพระตถาคตแล้ว  ขอพระองค์ประทานชีวิตแก่บุตรข้าพระองค์เถิด"  สุมนเทพ  ผู้สิงอยู่ที่ซุ้มพระตู  ไม่ยอมให้นางยักษิณีเข้าไปข้างใน  พระศาสดารับสั่งเรียพระอานนทเถระมาแล้ว  ตรัสว่า  "อานนท์  เธอจงไปเรียกนางยักษิณีนั้นมา"

พระเถระเรียกนางยักษิณีนั้นมาแล้ว  นางกุลธิดา  กราบทูลว่า  "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  นางยักษิณีนี้มา"  พระศาสดาตรัสว่า  "นางยักษิณีจงมาเถิด  เจ้าอย่าได้ร้องไปเลย"  ดังนี้แล้ว  ได้ตรัสกะนางยักษิณีผู้มายืนแล้วว่า  "เหตุไร ?  เจ้าจึงทำอย่างนั้น  ก็ถ้าพวกเจ้าไม่มาสู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้า  ผู้เช่นเราแล้ว  เวรของพวกเจ้า  จักได้เป็นกรรมตั้งอยู่ชั่วกัลป์  เหมือนเวรของงูกับพังพอน  ของหมีกับไม้สะคร้อ  และของกากับนกเค้า  เหตุไฉน  พวกเจ้าจึงทำเวรและเวรตอบแก่กัน ? "  เพราะเวรย่อมระงับได้ด้วยความไม่มีเวร  หาระงับได้ด้วยเวรไม่"  ดังนี้แล้ว  ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

๔.  น  หิ  เวเรน  เวรานิ        สมุมนฺตีธ  กุทาจนํ
      
     อเวเรน   จ   สมฺมนฺติ     เอส   ธมฺโม   สนนฺตโน.

"ในกาลไหน ๆ  เวรทั้งหลายในโลกนี้  ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย

ก็แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มีเวร  ธรรมนี้เป็นของเก่า."


แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้  บทว่า  น หิ  เวเรน  เป็นต้น  ความว่าเหมือนอย่างว่า  บุคคล  แม้เมื่อล้างที่ที่ซึ่งเปื้อนแล้วด้วยของไม่สะอาด  มีน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้น  ด้วยของไม่สะอาดเหล่านั้นแล  ย่อมไม่อาจทำให้เป็นที่หมดจด  หายกลิ่นเหม็นได้   โดยที่แท้   ที่นั้นกลับเป็นที่ไม่หมดจดและมีกลิ่นเหม็นยิ่งกว่าเก่าอีก  ฉันใด  บุคคลเมื่อด่าตอบชนผู้ด่าอยู่   ประหารตอบชนผู้ประหารอยู่   ย่อมไม่อาจระงับด้วยเวรได้  โดยที่แท้  เขาชื่อว่าทำเวรนั่นเองให้ยิ่งขึ้น  ฉันนั้นนั่นเทียว  แม้ในกาลไหน ๆ  ขึ้นชื่อว่าเวรทั้งหลาย  ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวร  โดยที่แท้  ชื่อว่าย่อมเจริญอย่างเดียว  ด้วยประการฉะนี้

สองบทว่า  อเวเรน  จ  สมฺมนฺติ  ความว่า  เหมือนอย่างว่าของไม่สะอาด  มีน้ำลายเป็นต้นเหล่านั้น  อันบุคคลล้างด้วยน้ำที่ใสย่อมหายหมดได้   ที่นั้นย่อมเป็นที่หมดจด   ไม่มีกลิ่นเหม็น  ฉันใด  เวรทั้งหลายย่อมระงับ  คือ ย่อมสงบ  ได้แก่  ย่อมถึงความไม่มีด้วยความไม่มีเวร  คือ ด้วยน้ำคือขันติและเมตตา  ด้วยการทำไว้ในใจแยบคายและด้วยการพิจารณา  ฉันนั้นนั่นเทียว

บาทพระคาถาว่า  เอส  ธมฺนตโน  ความว่า  ธรรมนี้  คือ  ที่นับถือ  ความสงบเวร  ด้วยความไม่มีเวร  เป็นของเก่า  คือ เป็นมรรคาแห่งพระพุทธเจ้า  พระปัจเจกพุทธเจ้า  และพระขีณาสพทั้งหลายทุก ๆ  พระองค์ ดำเนินไปแล้ว

ในกาลจบพระคาถา  นางยักษิณินั้น  ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผลแล้ว  เทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์  แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว.